เป้าหมาย (Understanding Goal):ตระหนักและเห็นคุณค่าของพืช ผักต่างๆ สามารถผลิตและนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นถิ่นมาประกอบเป็นอาหารเพื่อบริโภคได้อย่างถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งสามารถเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้สู่ชุมชนของตนเองได้อย่างเหมาะสม

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจตระเห็นคุณค่าของผักพื้นถิ่นและสามารถนำผักพื้นถิ่นมาประกอบอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งสามารถนำความรู้มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
30 .. -4 ..
2558
โจทย์ :ผักพื้นถิ่นที่ใช้ลำต้นในการประกอบอาหาร
Key  Question
นักเรียนจะนำผักพื้นถิ่น(ลำต้น)มาประกอบอาหารได้อย่างไรให้มีคุณค่าทางโภชนาการและน่ารับประทาน
เครื่องมือคิด
- Round Robin  พูดคุยเกี่ยวกับผักพื้นถิ่นที่นักเรียนเลือกมาประกอบอาหาร
- Blackboard Share เมนูอาหารจากผักพื้นถิ่นที่ใช้ลำต้นในการประกอบอาหาร
- Brainstorms  ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผักพื้นถิ่นที่ใช้ลำต้นในการประกอบอาหาร
- Show and Share  ชาร์ตความรู้ผักพื้นถิ่นกินลำต้น
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเตอร์เน็ต
- สถานที่ในโรงเรียน
- อุปกรณ์ประกอบอาหาร
-  พืชผักพื้นถิ่น
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ครูพานักเรียนแต่ละกลุ่มเดินสำรวจผักพื้นถิ่นที่มีอยู่ในโรงเรียน
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเดินสำรวจผักพื้นถิ่นที่จะนำมาประกอบอาหาร
ชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำผักพื้นถิ่น(ลำต้น)มาประกอบอาหารได้อย่างไรให้มีคุณค่าทางโภชนาการและน่ารับประทาน”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับผักพื้นถิ่นที่นักเรียนเลือกมาประกอบอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นหาลักษณะ สรรพคุณของพืชพื้นถิ่น(กินลำต้น)
 ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบเมนูอาหารจากผักพื้นถิ่นกินใบและวางแผนเตรียมอุปกรณ์มาประกอบอาหาร
อังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มประกอบอาหารตามเมนูที่ออกแบบไว้
เชื่อม
ครูและนักเรียนชิมอาหารที่นักเรียนแต่ละกลุ่มประกอบและร่วมพูดคุยเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร
พุธ 1 ชั่วโมง
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการประกอบอาหาร
พฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชาร์ตสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่นกินใบให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง

ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ      ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเดินสำรวจผักพื้นถิ่นที่จะนำมาประกอบอาหาร
- ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับผักพื้นถิ่นที่นักเรียนเลือกมาประกอบอาหาร
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการประกอบอาหาร

ชิ้นงาน
- อาหารจากผักพื้นถิ่นกินลำต้น
-  สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกไว้
- ชาร์ตความรู้ผักพื้นถิ่นกินลำต้น
ความรู้ :
เข้าใจตระเห็นคุณค่าของผักพื้นถิ่นและสามารถนำผักพื้นถิ่นมาประกอบอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งสามารถนำความรู้มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกระบวนการทำงานกลุ่ม
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ตัวอย่างกิจกรรม





ตัวอย่างชิ้นงาน














ตัวอย่างภาพกิจกรรม

































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.4 ได้เรียนรู้การประกอบอาหารจากผักพื้นถิ่นลำต้น ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดกระตุ้นการคิดนักเรียนจะนำผักพื้นถิ่น(ลำต้น)มาประกอบอาหารได้อย่างไรให้มีคุณค่าทางโภชนาการและน่ารับประทาน? ครูและพี่ๆป.4 พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับผักพื้นถิ่นกินลำต้นและการประกอบอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการ ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม เดินสำรวจผักพื้นถิ่นกินลำต้นในบริเวณโรงอาหารและบ้านพี่มัธยมหลังจากที่เดินสำรวจเสร็จครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผักพื้นถิ่นกินลำต้นที่นักเรียนได้ไปสำรวจมา พี่น้ำอ้อย: สายบัวค่ะ พี่มิ้นท์:ก้านทูลหนูเคยเอามากินกับส้มตำพี่มิกซ์: ผักกาดเขียนวค่ะครูบ้านหนูปลูกเยอะเลยค่ะหนูจะเอามาทำอาการ พี่อั้ม: ผักบุ้งค่ะกินได้ทั้งใบและลำต้นเลยค่ะครูหลังจากที่จบการสนทนาครูให้พี่ป.4 แต่ละกลุ่มเลือกผักพื้นถิ่นกินลำต้นมากลุ่มละ 1 ชนิด พี่ป.4 แต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์/สรรพคุณของผักพื้นถิ่นลำต้นและออกแบบวางแผนการประกอบอาหารจากผักพื้นถิ่นกินลำต้นและเตรียมอุปกรณ์มาประกอบอาหาร
    กลุ่มที่ 1 หมูทอดกรอบหยวกกล้วย(หยวกกล้วย)
    กลุ่มที่ 2 เมี่ยงผักกาดเขียว(ผักกาดเขียว)
    กลุ่มที่ 3 แกงสายบัว(สายบัว)
    กลุ่มที่ 4 ยำผักบุ้ง(ผักบุ้ง)
    หลังจากที่พี่ๆแต่ละกลุ่มออกแบบเมนูเสร็จแล้วแต่ละกลุ่มลงมือประกอบอาหารหลังจากที่ทำเสร็จนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูอาหารของตัวเองส่วนประกอบของอาหารและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประกอบอาหารจากผักพื้นถิ่นกินลำต้นพร้อมทั้งบอกประโยชน์/สรรพคุณของผักพื้นถิ่นกินลำต้นและปัญหาที่พบเจอรวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหา
    กลุ่มที่ 1 พี่บาส: กลุ่มผมทำหมูทอดกรอบหยวกกล้วยพอทอดเสร็จเหมือน KFC เลยครับ
    กลุ่มที่ 2 พี่น้ำมนต์: กลุ่มหนูทำเมี่ยงผักกาดแต่ผักกาดเหี่ยวเลยเปลี่ยนเอาใบชะพลูมาห่อแทนค่ะ
    กลุ่มที่ 3 พี่มิ้นท์: กลุ่มหนูเปลี่ยนเมนูเป็นผัดผักบุ้งรวมแทนค่ะ
    กลุ่มที่ 4 พี่น้ำอ้อย: ในสัปดาห์นี้กลุ่มหนูทำได้ดีกว่าสัปดาห์ที่แล้วเพราะพวกหนูมีการเตรียมอุปกรณ์และพูดคุยกันก่อนลงมือทำค่ะทำให้อาหารของกลุ่มพวกหนูทำเสร็จก่อนกลุ่มเพื่อน
    หลังจากแต่ละกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนเสร็จครูและนักเรียนร่วมชิมอาหารหลังจากชิมเสร็จครูและนักเรียนสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับรสชาติของอาหารเพื่อนำไปพัฒนาในสัปดาห์ต่อไป ในวันต่อมาครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้และให้นักเรียนจับคู่ออกแบบนำเสนอชิ้นงานผักพื้นถิ่นลำต้น คู่ละ 2 ชนิด นำเสนอในรูปแบบที่นิทานช่องให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง

    ตอบลบ