เป้าหมาย (Understanding Goal):ตระหนักและเห็นคุณค่าของพืช ผักต่างๆ สามารถผลิตและนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นถิ่นมาประกอบเป็นอาหารเพื่อบริโภคได้อย่างถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งสามารถเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้สู่ชุมชนของตนเองได้อย่างเหมาะสม

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถสำรวจและจำแนกประเภทพืชผักที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาค  รวมทั้งภายในชุมชนของตนเองและออกแบบการปลูกผักได้อย่างสร้างสรรค์
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
9-13
..
2558
โจทย์ :การปลูกผักพื้นถิ่น /การดูแล
Key  Question
- ถ้ามีพื้นในบริเวณที่จำกัด นักเรียนจะมีวิธีการปลูกผักวิธีไหนบ้าง?
- ผักในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Round Robin ออกแบบและเตรียมอุปกรณ์ปลูกผัก เช่น การเตรียมดิน เมล็ดผักชนิดต่างๆ
 - Brainstorms  เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและวิธีการดูแล
- Show and Share นำเสนอชาร์ตความรู้เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ผักพื้นถิ่นในแต่ละภาค
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
สถานที่ในโรงเรียน
- คลิปวีดีโอสารปนเปื้อนในผัก
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูพานักเรียนไปศึกษาการปลูกผักปลอดสารพิษของคุณแม่พี่มิกซ์
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและวิธีการดูแล
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
อังคาร 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูเปิดคลิปวีดีโอสารปนเปื้อนในผักให้นักเรียนชมหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไรและจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร?
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดถ้ามีพื้นในบริเวณที่จำกัด นักเรียนจะมีวิธีการปลูกผักวิธีไหนบ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์เพาะปลูกพืช
ใช้
นักเรียนออกแบบและเตรียมอุปกรณ์ปลูกผัก เช่น ดิน เมล็ดผักชนิดต่างๆ เพื่อที่จะทดลองปลูกพืชผักในท้องถิ่น
พุธ 1 ชั่วโมง
เชื่อม
ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ  คน เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับพืชผักที่ตนเองนำมาปลูก
ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดหมวดหมู่และประเภทของพืชผัก แล้วทำชาร์ตสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่น
พฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
เชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชาร์ตสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพืชผักในท้องถิ่นให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง

ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ      ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- การพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์ในการปลูกผักที่มีพื้นที่บริเวณที่จำกัด
- การพูดคุยแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่และประเภทของพืชผักที่นำมาปลูก
- การไปเรียนรู้นอกสถานที่

ชิ้นงาน
ชาร์ตสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่พืชผักในท้องถิ่น
สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของพืชผักที่
ปลูกไว้
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่

ความรู้ :
สามารถสำรวจและจำแนกประเภทพืชผักที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาค  รวมทั้งภายในชุมชนของตนเองและออกแบบการปลูกผักได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์






ตัวอย่างชิ้นงาน









ภาพกิจกรรม















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 3 พี่ป.4 ได้เรียนรู้การปลูกผักที่ปลอดสารพิษในพื้นที่จำกัด ในวันจันทร์ครูหนันพาพี่ๆป4 ไปเรียนรู้นอกสถานที่ที่แปลงผักปลอดสารพาของคุณแม่พี่มิกซ์ เด็กต่างก็พากันตื่นเต้นกับการไปเรียนรู้แปลงผัก คุณแม่พี่มิกซ์เล่าถึงความเป้นมาของแปลงผักเมื่อตอนพี่ป.4 อยู่เรียนชั้นป.3 ได้มีโอกาสไปเรียนรู้กับพี่ๆการปลูกที่วังน้ำเขียวจึงนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทำเป็นแปลงผักของตนเองและอีกอย่างลูกๆของแม่ก็ชอบกินผักซึ่งผักในท้องตลาดส่วนมากใช้สารเคมีคุณแม่จึงตัดสินใจมาปลูกผักกินเองและส่งขายตามหมู่บ้าน นอกจากที่คุณแม่เล่าความเป็นมาของการปลูกผักในครั้งนี้แล้วคุณแม่พี่มิกซ์ยังแนะนำวิธีการปลูกผัก การเตรียมดิน การจำประเภทของผักต่างๆ ระยะเวลาของผักแต่ละชนิดและวิธีการดูแลผัก นอกจากคุณแม่พี่มิกซ์จะปลูกผักกินเองแล้วยังเลี้ยงปลาดุกในบ่อที่ขุดเอง คุณแม่เล่าว่าน้ำของปลาดุกเราสามารถเอามารดน้ำผักได้เป็นปุ๋ยอย่างดีเลย หลังจากที่เรียนรู้แปลงผักเสร็จเด็กๆต่างก็ขอลองชิมผักที่คุณแม่ปลูก หลังจากที่เรียนรู้แปลงผักปลอดสารพิษของคุณแม่พี่มิกซ์เสร็จครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมเพื่อพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยกันในวันนี้ พีบาส: ได้รียนรู้ว่าการปลูกผักกินเองทำให้ร่างกายของเราไม่มีสารเคมี พี่น้ำอ้อย:บ้านหนูก็ปลูกค่ะครูหนูกับน้องหนูชอบกินผักมากๆค่ะ ในวันต่อมาครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด”ถ้ามีพื้นในบริเวณที่จำกัด นักเรียนจะมีวิธีการปลูกผักวิธีไหนบ้าง?” พี่ชมพู่: หนูจะเอาตะกร้าที่พังแล้วมาปลูกค่ะครู พี่น้ำมนต์: บ้านหนูมีขวดน้ำเยอะหนูจะเอามาปลูก พี่โต้ง:บ้านผมมีกระถามเก่าๆผมจะเตรียมมา พี่อาร์ม : บ้านผมมีไม้ไผ่ผมจะนำมาทำเป็นกระถามปลูกผักครับ หลังจากที่จบการสนทนาครูให้นักเรียนเตรียมดิน เตรียมเมล็ดพันธุ์และลงมือปลูกผักหลังจากที่ปลูกผักเสร็จครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องหอมแผ่นดินให้นักเรียนชม หลังจากที่ชมเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไร และจะนำมาปรับใช้กับตัวเองอย่างไร พี่น้ำมต์ พี่บาส: การใช้สารเคมีก่อให้เกิดอันตรายแก่เรา พี่น้ำอ้อย พี่อั้ม: การปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีต้องอดทนต่อความยากลำบากค่ะครู หลังจากนั้นนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบชาร์ตความรู้และนำเสนอในรูปแบบละคร

    ตอบลบ